Conventure รับสร้างบ้านสวย คุณภาพคุ้มค่า ราคายุติธรรม
เสาเข็ม เป็นส่วนที่ถือว่าสำคัญที่สุดของอาคาร ทำหน้าที่ในการค้ำยันอาคาร ถ่ายน้ำหนักของตัวบ้านลงสู่พื้นดิน ลักษณะของการรับน้ำหนักเสาเข็มมีด้วยกัน2ประเภทคือการรับน้ำหนักจากตัวเสาเข็มและการรับน้ำหนักจากชั้นดิน
เสาเข็มมีประเภทอะไรบ้างสำคัญอย่างไรทำหน้าที่อะไร และเสาเข็มแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร
- เข็มตอกมีทั้งเสาไม้ เสาเหล็ก และเสาคอนกรีต ส่วนมากจะนิยมใช้เสาเข็มคอนกรีต เนื่องจากราคาถูกกว่าเสาเหล็กและแข็งแรงกว่าเสาไม้ สำหรับเสาคอนกรีตแบ่งย่อยได้ 2 ชนิด
1.1 เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก
1.2 เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง เสาคอนกรีตอัดแรงจะเป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะหน้าตัดเล็กกว่าทำให้เวลานำไปตอกจะส่งผลกระทบต่ออาคารข้างเคียงน้อยกว่า
- เสาเข็มตอกมีด้วยกันหลายรูปแบบ ทั้งแบบสี่เหลี่ยม แบบกลม แบบตัวไอและแบบตัวที เป็นต้น ข้อเสียของเสาเข็มตอกคือจะไม่สะดวกในไซต์งานที่มีพื้นที่แคบๆเนื่องจากต้องขนส่งด้วยรถขนาดใหญ่ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่ไซต์งานที่อยู่ในพื้นที่แคบๆได้
2.1 เสาเข็มเจาะแบบแห้ง เป็นเสาเข็มที่เข้ามาแก้ปัญหาเสาเข็มแบบตอกซึ่งไม่สะดวกสำหรับการขนย้ายสามารถทำงานในที่แคบๆเสาเข็มเจาะระบบแห้งเป็นการทำเสาเข็มแบบหล่อในที่ มีรูปร่างหน้าตาเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40-60 เซนติเมตร สามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ราวๆ 25-60 ตันต่อต้น ความยาวประมาณ 20–30 เมตร ข้อดีคือเข้าทำงานในที่แคบๆได้
2.2 เสาเข็มเจาะแบบเปียก เป็นเสาเข็มแบบคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อในที่ รูปหน้าตัดทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.75-1.50 เมตร สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 150-900 ตัน/ต้น เสาเข็มระบบนี้จะเหมาะกับงานก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ เช่น อาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ เป็นต้น เสาเข็มระบบนี้เมื่อเจาะลงลึกกว่า 20 เมตร จะต้องใช้ละลาย Bentonite ใส่ลงไปในหลุมเจาะ เพื่อผลักน้ำออกไปจากชั้นทรายเพื่อให้สามารถเทคอนกรีตลงไปได้
ขอขอบคุณข้อมูล : terrabkk.com
สอบถามเรื่องสร้างบ้าน 02-0460300 - 3
ID Line : @conventure